เอคิว จับมือม.แม่โจ้ เดินหน้าธุรกิจใหม่ “Egronix” ฟาร์มกัญชงครบวงจร หวังเทิร์นอะราวด์ ปักหมุดศูนย์ HRDC บนที่ดิน 12 ไร่ จ.เชียงใหม่ เน้นศึกษาและวิจัย พร้อมต่อยอดซัพพลายเชน
นายชนน วังตาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ AQ เปิดเผยว่า บริษัทความตั้งใจจะทำให้ธุรกิจเอคิวเทิร์นอะราวด์ จึงแตกไลน์ลงทุนในธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับเอคิวสามารถเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง โดยธุรกิจใหม่ “Egronix” เป็นฟาร์มกัญชงต้นน้ำ
ซึ่งเป็น 1ใน 5 ธุรกิจของกลุ่มเอคิว ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ โดยเริ่มต้นคิกออฟโครงการกัญชงต้นน้ำและปลายน้ำ ด้วยความรู้และประสบการณ์ของแม่โจ้ และโอกาสของเอคิวคาดว่าจะได้ธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนที่ดีกับผู้ถือหุ้นและบริษัทเอคิว เอสเตทเอง
ผช.ศ.ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน หัวหน้าศูนย์ทดสอบวิจัยและพัฒนากัญชง (Hemp Research and Development Center : HRDC) เกริ่นถึงที่มาของศูนย์นวัตกรรมการปลูกกัญชงว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เริ่มต้นทำกัญชาเพื่อการแพทย์กับกรมการแพทย์ องค์การเภสัชกรรม เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยผลิตต้นกัญชาจำนวน 1.2 หมื่นต้น เพื่อนำมาสกัดใช้กับเฉพาะโรคจากนั้นได้เริ่มศึกษามาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากวันที่ 29 มกราคม 2564 ที่รัฐบาลอนุญาตให้มีการศึกษา นำเข้า ผลิตเชิงการค้าสำหรับกัญชง โดยกัญชงประกาศอนุญาตก่อนกัญชา เนื่องจากกัญชงมีแนวทางที่จะนำไปใช้เชิงอุตสาหกรรมได้มาก จึงกลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่เป็น New S-Curve
ทั้งนี้นับตั้งแต่มีกฎหมายรองรับกัญชงกว่า 1 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมกับภาคเอกชนที่ให้ความสนใจในการต่อยอดธุรกิจกัญชงโดยผู้มีส่วนร่วมในซัพพลายเชนกัญชงแบ่งเป็น 4 กลุ่มได้แก่
1. ผู้ปลูกกัญชง (ผู้ปลูกรายใหญ่) กลุ่ม Hemp Growers/Industrial Cultivation
2. โรงงานสกัดทั้ง ช่อดอกกัญชง และสกัดน้ำมันกัญชง(CBD and Oil extraction Companies)
3. ผู้นำเข้าเมล็ดพันธุ์ (Seed Importers)
4. ผู้วิจัยและพัฒนา (R&D)
“มหาวิทยาลัยแม่โจ้จะแบ่งทีมทำงานเกี่ยวกับกัญชง กัญชาเป็น 3-4 ทีม ซึ่งศูนย์ทดสอบวิจัยและพัฒนากัญชง ทำกัญชง CBD เราทำงานร่วมกับภาคเอกชนที่สนใจต่อยอดธุรกิจกัญชงและเราอยากจะเป็นอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมกัญชง”
ผช.ศ.ดร.ตะวัน เล่าให้ฟังว่า ที่ผ่านมาแม้สถาบันวิจัยพื้นที่สูงมีการทำกัญชงมานาน แต่เป็นการทำกัญชงสำหรับทำเส้นใย/สิ่งทอเป็นหลัก แต่ยังไม่มีสายพันธุ์กัญชง CBD เนื่องจากประเทศไทยเพิ่งจะผ่านกฎหมายปลดล็อคกัญชงเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งการจะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมจำเป็นต้องนำองค์ความรู้หรือเมล็ดพันธุ์มาทดลองปลูกในบ้านเราก่อน ซึ่งภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชนก็ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิง โดยภาคอุตสาหกรรมเป็นต้นน้ำและให้โอกาสมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้ามาร่วมวิจัยโดยจัดตั้งศูนย์ HRDC ขึ้น
โดยศูนย์ HRDC มีพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ ประกอบด้วย 16โรงเรือนซึ่งเป็น In House และโรงเรือนEvap 5ไร่เป็น Out door พร้อมออฟฟิศ ห้องอบรม ห้องแล็ปพร้อมถังหมัก และเครื่องวิเคราะห์สารจากตัวอย่างช่อดอกกัญชงที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวเป็นการวิเคราะห์สายสำคัญ CBD, โรงอบซึ่งลดระยะเวลาการตากใช้เวลาไม่เกิน 24 ชม. ปกติจะตาก 2 สัปดาห์หรือกว่า 10 วัน, ระบบมี 2 ไซซ์ คือ 1,000 กิโลกรัมและ 300 กิโลกรัม
สำหรับระยะเวลาในการปลูกกัญชงประมาณ 2 เดือนหรือราว 70 วัน ปลูกระยะชิดไม่ให้ต้นสูงมาก สำหรับกัญชงเส้นใยในเมืองไทย กลุ่มพี่น้องชาวม้งใช้ถักทอเสื้อผ้า อีกกลุ่มกัญชงทำน้ำมันนั้น นำเมล็ดสกัดน้ำมัน 20-30% และกลุ่มกัญชง CBD มี THC 19% ถือว่าสูง เป็นความต้องการอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยา
โดยนำช่อดอกกัญชงเพื่อนำไปสกัดสารสำคัญต่างๆ เช่น ช่อดอกจะมีสารต่างๆ เกือบ 500 ชนิดแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ซึ่ง ช่อดอกจะมีสาร Canabinoid 15-20% ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ รสชาติจะออกรสขม (จึงมักจะผสมช่อดอกกับใบเพื่อลดรสขม)
ส่วนรองลงมา “ใบ” จะมีสาร canabinoids 1.10-2.10% ลำต้น และรากกัญชงมีสาร Triterpenoids 0.13-0.14% เป็นสารที่ช่วยฟื้นเรื่อง ข้อหรือข้อเข่า (โดยทั่วไปจึงเห็นคนน้ำรากกัญชงไปแช่เหล้า) อย่างไรก็ตาม ในแง่ผลประโยชน์จากงานวิจัยกัญชง หลังจากการดื่มหรือสูบ ซึ่งผลจะลดความดัน ลดอาการปวด ลดความยากอาหาร และ ป้องกันอาการชัก เป็นต้น
ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมที่รับซื้อช่อดอกจากศูนย์ฯ เช่น บริษัท TNR BIO เป็นโรงงานสกัด มาได้เป็น 2 ผลิตภัณฑ์ คือ Full Spectrum : CBD Distillate ชนิดน้ำใช้ผสมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และCBD ISOLATE ชนิดผง ซึ่งสามารถหาซื้อได้แล้ว เริ่มต้นใช้งานจากสารสกัดเหล่านี้
ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นทั้งในแง่ของการปลูก การพัฒนา และเริ่มเห็นหลายผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ไม่ว่า สบู่ เครื่องดื่ม สำหรับความร่วมมือทางวิชาการนั้น ภายใต้กรอบของความร่วมมือ 3 ด้านคือ ความร่วมมือพัฒนา การผลิตให้ได้ต้น้ำที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ,การอบรมเพื่อเพิ่มผู้ปลูกที่มีความรู้ และร่วมทำวิจัยกับทางegroinx
ทั้งนี้ “กัญชง”แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์ ได้แก่ 1. เส้นใย 2. น้ำมัน 3.ช่อดอกกัญชงCBD ซึ่งกัญชงใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หรืออาหาร รวมถึงการทำอาหารสัตว์หรือสิ่งทอ โดยสารสำคัญจะอยู่ที่ “ช่อดอก” ซึ่งต้องทำการประเมินความพร้อมเพื่อให้แน่ใจว่า ช่วงนี้ต้นกัญชงมีสารสำคัญและพร้อมจะเก็บเกี่ยว เมื่อประเมินแล้วจึงจะทำการตัด จากนั้นทำการแยกช่อดอก และทำการอบภายในโรงอบ
สำหรับกัญชงที่ egronix ปลูกจะมี THC ต่ำถูกกฎหมาย แต่ CBD สูง อันนี้เป็นข้อแตกต่างระหว่าง “กัญชง” กับ “กัญชา” วัตถุประสงค์การใช้งาน “กัญชา” นั้นเพื่อสันทนาการและเพื่อทางการแพทย์ ซึ่งกัญชงมีประโยชน์ในแง่ของการผ่อนคลาย
นอกจากนี้ทางศูนย์ HRDC ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้พยายามจะสร้างความรู้สู่เกษตรกรโดยเปิดอบรมให้ความรู้ผู้สนใจ ซึ่งปัจจุบันสามารถสร้างเครือข่ายปลูกกัญชง 2,143 รายทั่วประเทศ ขึ้นอยู่สภาพความพร้อมแต่ละราย นอกจากที่ศูนย์มีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการวิจัยกับหลายหน่วยงาน รวมทั้งพัฒนาการปลูก การผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม นอกจากการผลิตช่อดอกขายแล้ว ในส่วนที่เหลือ เช่น ใบ กิ่งก้าน หรือราก ทางโรงงานกำลังพิจารณาลดขยะเป็นศูนย์ด้วย (Zero waste) เป็นการพัฒนาฟาร์มเพื่อความยั่งยืน โดยเฉพาะโรงงานของEgronixที่ลำพูนนั้นมีจำนวน 40 โรงเรือนและระบบ Out door สามารถผลิตต้นกัญชงไม่ต่ำ 6 หมื่นต้น ซึ่งเป็นท็อป 5 ของภาคเหนือ และสามารถใช้ประโยชน์ชีวมวล ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นกิโลกรัม เหล่านี้เป็นโจทย์ที่จะทำร่วมกันในระยะต่อไป
ที่มา : https://www.thansettakij.com/health/medical-cannabis/549291